มาตรฐานสากล
รู้จักกับ RFID
RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นเทคโนโลยีการระบุข้อมูลที่แสดงเอกลักษณ์ของวัตถุหรือบุคคลด้วยคลื่นความถี่วิทยุที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการบ่งชี้วัตถุในระยะไกลได้ โดยมีจุดเด่น คือ สามารถอ่านข้อมูลจากป้าย (Tag) ได้หลายๆ แท็ก แบบไร้สัมผัส และสามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก และสามารถจะอ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในไมโครชิปที่อยู่ในป้าย (Tag)
ปัจจุบันเทคโนโลยี RFID เริ่มเข้ามามีความสำคัญในชีวิตประจำวันมากขึ้นโดยถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่างๆ แล้วแต่ความสามารถของเทคโนโลยี เช่น บัตรโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน บัตรพนักงาน กุญแจรถยนต์ (Electronics Immobilization) ในแวดวงอุตสาหกรรมในส่วนของการผลิตเพื่อ Track and Trace ระบบบันทึกข้อมูลการจัดการสินค้าระหว่างการผลิตและจำหน่ายสินค้า การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) การบริหารจัดการสินค้าคงคลังและการกระจายสินค้า ระบบการขนส่ง การติดตามตู้สินค้าระหว่างการขนส่ง (Electronic Seal หรือ e-Seal) การนำมาประยุกต์ใช้งานในการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการตรวจสอบย้านกลับในอุตสาหกรรมอาหาร (Food Traceability) ซึ่งพัฒนาการของเทคโนโลยี RFID ในปัจจุบันและอนาคตนั้นมีศักยภาพและปัจจัยเอื้ออำนวย ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าเทคโนโลยี RFID นี้จะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจรูปแบบใหม่ และอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ซึ่งจะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงของสัมคมเข้าสู่สังคมสารสนเทศของประเทศไทย
ส่วนประกอบของระบบ RFID
ในระบบ RFID จะมีองค์ประกอบหลักๆ ด้วยกัน 3 ส่วน คือ
-
ทรานสปอนเดอร์ หรือ ป้าย (Transponder/Tag) ที่ใช้ติดกับวัตถุต่างๆ ที่เราต้องการ โดยป้ายนั้นจะประกอบด้วยสายอากาศ และไมโครชิปที่มีการบันทึกหมายเลข (ID) หรือข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุชิ้นนั้นๆ
-
เครื่องอ่านเขียนข้อมูลภายในป้าย (Interrogator/Reader) ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ถ้าเปรียบเทียบกับระบบรหัสแท่ง ป้ายในระบบอาร์เอฟไอดี เปรียบได้กับตัวรหัสแท่งที่ติดกับฉลากของสินค้า และเครื่องอ่านในระบบอาร์เอฟไอดี คือ เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Scanner) โดยข้อแตกต่างของทั้งส่องระบบ คือ ระบบอาร์เอฟไอดี จะใช้คลื่นความถี่วิทยุในการอ่าน/เขียน ส่วนระบบรหัสแท่งจะใช้แสงเลเซอร์ในการอ่าน โดยข้อเสียของระบบรหัสแท่ง คือ การอ่าน(สแกน) เป็นการใช้แสงในการอ่านรหัสแท่ง ซึ่งจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางหรือต้องอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกับลำแสงที่ยิงจากเครื่องสแกน และสามารถอ่านได้ทีละรหัสในระยะใกล้ๆ แต่ระบบอาร์เอฟไอดี มีความแตกต่างโดยสามารถอ่านรหัสจากป้ายได้โดยไม่ต้องเห็นป้าย หรือป้ายนั้นซ่อนอยู่ภายในวัตถุและไม่จำเป็นต้องอยู่ในแนวเส้นตรงกับคลื่น เพียงอยู่ในบริเวณที่สามารถรับคลื่นวิทยุได้ก็สามารถอ่านข้อมูลได้ และการอ่านป้ายในระบบอาร์เอฟไอดี ยังสามารถอ่านได้ทีละหลายๆ ป้ายในเวลาเดียวกัน โดยระยะในการอ่านข้อมูลได้ไกลกว่าระบบรหัสแท่งอีกด้วย
-
ระบบประยุกต์ใช้งาน ทั้งนี้รวมถึงระบบฮาร์ดแวร์ และระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้งาน หรือระบบฐานข้อมูล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบการใช้งานที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบจัดการคลังสินค้า ระบบจัดคิวรถบรรทุก เป็นต้น
ทรานสปอนเดอร์และป้าย (Transponders/Tag)
โครงสร้างภายในป้ายจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ไมโครชิป (Microchip) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของวัตถุเช่นรหัสสินค้า และขดลวดขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็นสายอากาศ (Antenna) สำหรับรับส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุและสร้างพลังงานป้อนให้ส่วนของไมโครชิป โดยทั่วไปตัวป้ายอาจอยู่ในรูปแบบที่เป็นกระดาษ แผ่นฟิล์ม พลาสติก มีหลายขนาดและรูปร่างต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนำเอาไปติด และมีหลายรูปแบบ เช่น บัตรเคดิต เหรียญ กระดุม ฉลากสินค้า แคปซูล หรือป้าย เป็นต้น ทั้งนี้เราสามารถแบ่งป้ายที่มีใช้งานกันอยู่ได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่
-
ป้ายอาร์เอฟไอดีชนิดแพสทีฟ (Passive) ป้ายชนิดนี้ทำงานได้ไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอกใดๆ เพราะภายในป้ายจะมีวงจรกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขนาดเล็กเป็นแหล่งจ่ายไฟในตัวอยู่ ทำให้การอ่านข้อมูลทำได้ไม่ไกลมากนัก ระยะอ่านสูงสุดประมาณ 1 เมตร ขึ้นอยู่กับกำลังงานของเครื่องส่งและคลื่นความถี่วิทยุที่ใช้ โดยปกติป้ายชนิดนี้มักมีหน่วยความจำขนาดเล็ก โดยทั่วไปประมาณ 16-1,024 ไบต์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ราคาต่อหน่วยต่ำ
-
ป้ายแบบแอ็กทีฟ (Active) ป้ายชนิดนี้ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากภายนอก เพื่อจ่ายไฟให้วงจรทำงาน ระยะการอ่านข้อมูลได้ประมาณ 100 เมตร แต่มีข้อเสียคือ ขนาดของป้ายหรือเครื่องอ่านมีขนาดใหญ่ อายุแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานประมาณ 3-7 ปี
นอกจากนั้นยังสามารถจัดรูปแบบป้าย RFID จากรูปแบบการอ่านเขียนได้ 3 รูปแบบดังนี้
-
ป้ายที่ใช้อ่านและเขียนข้อมูลไปได้หลายๆ ครั้ง (Read-Write)
-
ป้ายที่ใช้เขียนได้เพียงครั้งเดียวแต่อ่านได้หลายครั้ง (Write-once Read-many)
-
ป้ายที่ใช้อ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read-only)
เครื่องอ่าน (Reader)
โดยหน้าที่ของเครื่องอ่าน คือ การเชื่อมต่อเพื่อเขียนหรืออ่านข้อมูลลงในแท็กด้วยสัญญาณความถี่วิทยุภายในเครื่องอ่านจะประกอบด้วย เสาอากาศที่ทำจากขดลวดทองแดง เพื่อใช้รับส่งสัญญาณภาครับและภาคส่งสัญญาณวิทยุและวงจรควบคุมการอ่าน-เขียนข้อมูล จำพวกไมโครคอนโทรลเลอร์ และส่วนของการติดต่อกับคอมพิวเตอร์

โดยทั่วไปเครื่องอ่านจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลักดังนี้
-
ภาครับและส่งสัญญาณวิทยุ
-
ภาคสร้างสัญญาณพาหะ
-
ขดลวดที่ทำหน้าที่เป็นสายอากาศ
-
วงจรจูนสัญญาณ
-
หน่วยประมวลผลข้อมูล และภาคติดต่อกับคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลข้อมูลที่อยู่ภายในเครื่องอ่านมักใช้เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งอัลกอริทึมที่อยู่ภายในโปรแกรมจะทำหน้าที่ถอดรหัสข้อมูล (Decoding) ที่ได้รับและทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ ลักษณะขนาดและรูปร่างของเครื่องอ่านจะแตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้งาน เช่น แบบมือถือขนาดเล็กหรือติดผนัง จนไปถึงขนาดใหญ่เท่าประตู (Gate Size) เป็นต้น
จุดเด่นของเทคโนโลยี RFID คือ
ปัจจุบันการผลิตสินค้าของโรงงานทุกโรงงานมีสินค้าหลากหลายชนิด ซึ่งจำเป็นต้องใช้แถมบาร์โค้ดรหัสสินค้าเพื่อใช้ในการแยกแยะ ระบบ RFID ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านค่าโดยผ่านคลื่นวิทยุในระยะไกล และใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียนข้อมูลและข้อดีของระบบดังนี้
มีความละเอียดและสามารถบรรจุข้อมูลได้มาก ซึ่งทำให้สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นแม้จะเป็นสินค้าชนิดเดียวกันก็ตาม
ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากระบบ RFID เร็วกว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายสิบเท่า
สามารถอ่านข้อมูลจากป้ายหรือแท็ก (Transponder/Tag) ได้หลายๆ แท็ก พร้อมๆ กันแบบไร้สัมผัส
สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปใกล้ในมุมที่เหมาะสมอย่างการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด
ค่าเฉลี่ยของความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี RFID คือประมาณ 99.5%
สามารถเขียนทับข้อมูลได้จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งจะลดต้นทุนของการผลิตป้ายสินค้า
สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอ่านข้อมูลซ้ำที่อาจเกิดขึ้นจากระบบบาร์โค้ดความเสียหายของป้ายชื่อน้อยกว่าเนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์
ระบบความปลอดัยสูงกว่า ยากต่อการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ
ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก
สามารถอ่านค่าข้อมูลได้ระยะไกล
กฎข้อบังคับ และ มาตรฐานของระบบอาร์เอฟไอดี
1. กฎข้อบังคับของระบบอาร์เอฟไอดี
กฎข้อบังคับ (Regulation) คือ กฎข้อบังคับที่ประกาศโดยรัฐบาล หรือภาครัฐเพื่อกำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ ต้องทำตามกฎระเบียบเหล่านั้น โดยถ้าใครฝ่าฝืนกฎระเบียบก็จะต้องถูกลงโทษ (เช่น จ่ายค่าปรับ) กฎข้อบังคับที่ดีจะต้องสามารถป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในภายหลัง และถ้าจำเป็นก็สามารถที่จะปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ ตัวอย่างเช่น การควบคุมสินค้า ราคา ค้าจ้าง มลภาวะ และมาตรฐานของผลผลิตของสินค้า หรือบริการ โดยรวมไปถึงกฎข้อบังคับในการสร้างอุปกรณ์ของระบบ RFID ซึ่งถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อทำให้อุปกรณ์และระบบที่สร้างขึ้นมามีความปลอดภัยและไม่ไปรบกวนการทำงานของบริการอื่น ๆ ที่ใช้ย่านความถี่วิทยุเหมือนกัน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น
1.1 กฎข้อบังคับด้านความถี่ที่ใช้งาน
เครื่องอ่านและป้าย RFID จะใช้คลื่นความถี่วิทยุ (หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ณ ความถี่ที่ใช้งานหนึ่ง ๆ ในการติดต่อสื่อสาร โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในระบบ RFID จะอยู่ในช่วงสเปกตรัมความถี่ของคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งมีการให้บริการทางด้านวิทยุ โทรทัศน์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ มาก่อนแล้ว ดังนั้นเพื่อไม่ให้การใช้งานความถี่ทับซ้อนกัน (ซึ่งจะก่อให้เกิดการรบกวนกัน) จึงได้มีการกำหนดกฎข้อบังคับด้านความถี่ที่ใช้งานสำหรับระบบ RFID ดังนี้
- ย่านความถี่ต่ำ (LF : low frequency) อุปกรณ์ RFID จะต้องใช้ความถี่ 125 KHz หรือ 134 KHz สำหรับทุกประเทศ
- ย่านความถี่สูง (HF : high frequency) อุปกรณ์ RFID จะต้องใช้ความถี่ 13.56 MHz สำหรับทุกประเทศ
- ย่านความถี่สูงยิ่ง (UHF : ultra high frequency) และย่านคลื่นความถี่ไมโครเวฟ (microwave frequency) อุปกรณ์ RFID จะใช้ความถี่ที่แตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับโซนที่อยู่ของแต่ละประเทศ
2. มาตรฐานของระบบอาร์เอฟไอดี
มาตรฐาน (Standard) คือ ข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติเพื่อให้อุปกรณ์ที่ผลิตจากโรงงานต่าง ๆ สามารถใช้งานร่วมกันได้ ในทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีได้นิยาม “การทำให้เป็นมาตรฐาน Standardization” ว่าหมายถึงกระบวนการในการสร้างมาตรฐานทางเทคนิคเพื่อให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยปราศจากการแข่งขัน กล่าวคือสินค้าของแต่ละโรงงานที่ผลิตตามมาตรฐานเดียวกันก็จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ถ้าสินค้านั้นผลิตโดยใช้มาตรฐานที่ต่างกัน ก็จะไม่สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้ โดยทั่วไปมาตรฐานทางเทคนิคของอุปกรณ์ไฟฟ้าจะถูกกำหนดโดยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ISO (International Organization for Standardization), IEC (International Electrotechnical Commission), และ ITU (International Telecommunications Union)
มาตรฐานของสินค้าถือว่าเป็นส่วนสำคัญของทางธุรกิจ เพื่อให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ การมีมาตรฐานทางด้านอุตสาหกรรมจึงมีข้อดีมากมาย เช่น
- ทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมั่นใจ เพราะว่าผู้ผลิตทุกรายผลิตสินค้าตามมาตรฐานเดียวกัน จึงทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าเหล่านั้นสามารถใช้งานร่วมกันได้
- ทำให้ผู้ซื้อได้รับประโยชน์โดยตรง เนื่องจากสามารถเลือกซื้อสินค้า ได้ตามต้องการ
- ทำให้ผู้ผลิตประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ
- ทำให้ลูกค้ามั่นใจในสินค้าที่ซื้อเพราะว่าสินค้านั้นผลิตจากเทคโนโลยีที่ได้รับมาตรฐาน
ในปัจจุบันองค์กรที่กำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์ในระบบ RFID ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก มี 2 องค์กร คือ ISO และ EPCglobal ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1 มาตรฐาน ISO
ISO คือองค์กรมาตรฐานสากลที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจากหน่วยงานมาตรฐานของหลายๆ ประเทศ โดยเริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 องค์กร ISO จะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานทางด้านอุตสาหกรรมและการค้าด้านต่าง ๆ ซึ่งรู้จักกันทั่วไปว่า “มาตรฐาน ISO (ISO Standard)” ปัจจุบันองค์กร ISO ได้กำหนดมาตรฐานของระบบ RFID ในแต่ละด้านดังนี้
- มาตรฐานการระบุตัวตน โดยจะกล่าวถึงการเข้ารหัสข้อมูลต่าง ๆ ในป้าย
- โพรโทคอลการติดต่อสื่อสาร โดยกำหนดขั้นตอนการสื่อสารระหว่างป้ายและเครื่องอ่าน
- โพรโทคอลสำหรับการติดต่อกับอุปกรณ์เสริมในระบบ RFID เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์
- มาตรฐานที่เกี่ยวกับการทดสอบ การเข้ากันได้ และความปลอดภัย
ตัวอย่างมาตรฐานของ ISO ที่ใช้ในระบบ RFID
มาตรฐาน ISO |
คำอธิบาย |
ISO/IEC 15961 |
Information exchange in a radio frequency identification (RFID) System (data protocol for application interface) for item management |
ISO/IEC 15962 |
Data encoding rules and logical memory functions for item management |
ISO/IEC 15963 |
Unique identification for RF tags |
ISO/IEC 18000-i |
Parameters for air interface communications for different operating frequencies |
ISO/IEC 18047-i |
RFID device tests methods for different operating frequencies |
ISO/IEC 19762-3 |
Automatic identification and data capture (AIDC) techniques : vocabulary |
ISO/IEC 24730-1 |
Real-time locating systems (RTLS): application program interface (API) |
หมายเหตุ สำหรับ i = 1, 2, 3, …
ตารางแสดง ตัวอย่างมาตรฐานของ ISO ที่ใช้ในระบบ RFID โดยที่พารามิเตอร์ i บ่งบอกถึงความถี่ที่ใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้โพรโทคอลการเชื่อมต่อผ่านทางอากาศ (air interface) นิยามกฎการสื่อสารระหว่างเครื่องอ่านและป้าย RFID เช่น การเข้ารหัสข้อมูล การมอดูเลชัน ดีมอดูเลชัน และคำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานของป้าย RFID (เช่น การอ่าน การเขียน การเปลี่ยนแปลง การยกเลิก การใช้งานป้าย เป็นต้น) รวมทั้งอัลกอริทึมป้องกันการชนกันของข้อมูล ในทางปฏิบัติองค์กร ISO ได้กำหนดมาตรฐานการใช้งานในหลาย ๆ ด้าน เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบการผลิต และระบบ RFID เป็นต้น อย่างไรก็ตามมาตรฐานของระบบ RFD ที่เป็นที่ยอมรับอีกมาตรฐานหนึ่งก็คือ มาตรฐาน EPCglobal
2.2 มาตรฐาน EPCglobal
ศูนย์ Auto-ID ที่สถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) ทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมชั้นนำและสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลก ในการออกแบบระบบ RFID ที่เรียกว่า “เครือข่าย EPCglobal” เพื่อใช้งานทางด้านห่วงโซ่อุปทานที่ครอบคลุมทั่วโลก (global supply chain) โดยเครือข่าย EPCglobal จะประกอบด้วยรหัส EPC, เทคโนลยี RFID, โปรแกรมสนับสนุนตามมาตฐาน EPCglobal และอื่น ๆ เพื่อให้บริการ 5 ด้านดังนี้
- การกำหนดหมายเลขรหัส ID ที่เป็นหนึ่งเดียว (unique ID) สำหรับสินค้าที่ต้องการระบุตัวตน
- การตรวจหาและการระบุตัวตนของสินค้า
- การรวบรวมและการกรองข้อมูล โดยจะอยู่ในส่วนของการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างเครื่องอ่านและฐานข้อมูล และข้อมูลที่สำคัญก็จะถูกบันทึกในฐานข้อมูล
- การสอบถามและการจัดเก็บข้อมูล
- การระบุตำแหน่งของข้อมูล
ในปัจจุบันนี้ EPCglobal เป็นผู้นำในการพัฒนามาตรฐานสำหรับสินค้าที่ใช้รหัส EPC เพื่อรองรับการใช้เทคโนโลยี RFID ในเครือข่ายการค้าทั่วโลก ตัวอย่างเช่น มาตรฐาน EPCglobal Gen 2 ได้รับอนุมัติในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของป้าย RFID ที่สามารถใช้งานได้ทั่วโลกและรองรับผู้ผลิตรายใหญ่ต่าง ๆ โดยป้าย RFID ที่ใช้มาตรฐานนี้จะเรียกว่าป้าย EPC (EPC tag)

ภาพแสดงตัวอย่างโครงสร้างของหมายเลขรหัส EPC ในรูปของเลขฐานสิบหก
ภาพแสดงตัวอย่างโครงสร้างของหมายเลขรหัส EPC ในรูปของเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) ซึ่งมีความหมายดังนี้
- ส่วนหัว (Header) เป็นตัวกำหนดความยาว ประเภท โครงสร้าง เวอร์ชัน และรุ่นของรหัส EPC
- หมายเลขผู้จัดการ (Manager number) เป็นตัวกำหนดชื่อบริษัทหรือหน่วยงาน
- ระดับชั้นของวัตถุ (Object class) เป็นตัวกำหนดชื่อสินค้า
- หมายเลขประจำ (Serial number) คือหมายเลขประจำของสินค้าแต่ละชิ้น
หมายเหตุ : บริษัทที่ต้องการส่งสินค้าไปขายนอกพื้นที่ของตน จะต้องมีหมายเลขผู้จัดการที่อนุมัติโดย EPCglobal ก่อน จึงจะส่งสินค้าไปขายในเครือข่าย EPCglobal ได้
มาตรฐานการใช้งานในประเทศไทย
การจัดสรรคลื่นความถี่ RFID ในประเทศไทย
ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification) หรืออาร์เอฟไอดี (RFID) ที่เริ่มมีพัฒนาการในการนำมาใช้เพื่อประโยชน์เชิงอุตสาหกรรมในประเทศไทย และทำงานโดยการใช้คลื่นความถี่ในการส่งสัญญาณ ปัจจุบันย่านความถี่สำหรับการใช้งาน RFID ทั่วโลกจะอยู่ในย่านความถี่ ISM Band (Industrial-Scientific-Medical) ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่หลายประเทศกำหนดไว้สอดคล้องกันในการอนุญาตให้ใช้งาน ในเชิงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และการแพทย์ มี 4 ย่านความถี่ และสำหรับย่านความถี่คลื่นใน ISM Band ที่กำหนดให้ใช้สำหรับ RFID ทั้ง 4 ย่านความถี่ คือ
ย่านความถี่ |
การประยุกต์ใช้ |
การจัดสรรปัจจุบัน |
การจัดสรร |
ย่านความถี่ต่ำ (LF) 125kHz และ 135kHz |
Access Control และ Animal ID |
กำลังส่งสูงสุดที่ไม่ต้องมีใบอนุญาต 150 mW (e.i.r.p.) |
กำลังส่งสูงสุดที่ไม่ต้องมีใบอนุญาต 4 W (e.i.r.p.) |
ย่านความถี่สูง (HF) 13.56 MHz |
Smart card, Access Control, Logistics |
กำลังส่งสูงสุดที่ไม่ต้องมีใบอนุญาต 5 mW (e.i.r.p.) |
กำลังส่งสูงสุดที่ไม่ต้องมีใบอนุญาต 4 W (e.i.r.p.) |
ย่านความถี่สูงยิ่ง (UHF) 433 MHz |
Logistics, Retail, และ Warehouse |
จำกัดการประยุกต์ใช้เฉพาะด้าน กำลังส่งไม่เกิน 10 mW (e.i.r.p.) |
เพิ่มการประยุกต์ใช้ด้าน RF-ID |
ย่านความถี่สูงยิ่ง (UHF) 800-900 MHz |
Logistics, Retail, และ Warehouse |
ต้องขออนุญาตเฉพาะกรณี |
สำหรับประเทศไทย กสทช. ได้จัดสรรความถี่ย่าน UHF 920-925 MHz |
ย่านความถี่ไมโคเวฟ 2.45 GHz |
Logistics, Retail, และ Warehouse |
กำลังส่งสูงสุดที่ไม่ต้องมีใบอนุญาต 10 mW (e.i.r.p.) |
กำลังส่งสูงสุดที่ไม่ต้องมีใบอนุญาต 1 W (e.i.r.p.) |
ย่านความถี่ต่ำ (LF) 125 kHz และ 134 kHz
นิยมใช้สำหรับควบคุมการเข้าออกสถานที่และการลงทะเบียนสัตว์ ถูกจำกัดด้วยกฎกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กฎกระทรวงกำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมได้รับยกเว้นไม่ ต้องได้รับ ใบอนุญาต พ.ศ. 2547 ข้อ 2 (10)) ซึ่งจำกัดกำลังส่งออกอากาศ EIRPไว้ที่ 150 มิลลิวัตต์ มีระยะการสื่อสารได้น้อยกว่า 1 เมตร
ย่านความถี่สูง (HF) 13.56 kHz
นิยมใช้ในบัตรสมาร์ต (Smart Card) แบบไร้สัมผัส และหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ถูกจำกัดด้วยกฎกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กฎกระทรวงกำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมได้รับยกเว้นไม่ ต้องได้รับ ใบอนุญาต พ.ศ. 2547 ข้อ 2 (11)) ซึ่งจำกัดกำลังส่งออกอากาศ EIRP ไว้ที่ 5 มิลลิวัตต์ มีระยะการสื่อสารได้น้อยกว่า 1 เมตร
ย่านความถี่สูงยิ่ง (UHF) 433 kHz
นิยมใช้ในการบริหารคลังสินค้า และการจัดการลอจิสติกส์ (Logistic) แม้จะอนุญาตให้ถึง 10 มิลลิวัตต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งาน RFID แบบ active แต่กฎกระทรวงฯ กำหนดให้ใช้งานได้เพียงเฉพาะด้าน เช่น สำหรับควบคุมการทำงานระยะไกล ระบบสัญญาณเตือนภัยภายในบริเวณเฉพาะ และเครื่องมือทางการแพทย์เป็นต้น
ย่านความถี่สูงยิ่ง (UHF) 800-900 kHz
นิยมใช้ในการบริหารคลังสินค้าและ การจัดการลอจิสติกส์ โดยเฉพาะการใช้งานรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์EPC (Electronic Product Code) ตามมาตรฐาน EPC Global Class 1 Gen 2 มีการระบุให้ใช้ความถี่ในช่วง 860 – 960 MHz สำหรับประเทศไทยโดย กทช. ได้จัดสรรความถี่ย่าน UHF ที่ 920-925 MHz
ย่านความถี่ไมโครเวฟ 2.45 GHz (2450 MHz)
ปัจจุบันได้รับอนุญาตให้ใช้กำลังส่งไม่เกิน100 มิลลิวัตต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งาน RFID แบบ active แต่ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ งาน RFID แบบ passive ซึ่งต้องมีระยะอ่านไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร การใช้งาน RFID แบบ passiveในย่านนี้ต่อไปจะมีความสำคัญในด้านลอจิสติกส์และการค้าปลีก เนื่องจากต้นทุนของสายอากาศต่ำกว่าแบบความถี่ย่าน LF และ HF ทำให้ต้นทุนโดยรวมของป้ายรหัสสินค้าต่ำลง
ความถี่และการอนุญาตใช้งาน RFID ในประเทศไทย
แถบความถี่ |
ย่านความถี่ต่ำ (LF) |
ย่านความถี่สูง (HF) |
ย่านความถี่สูงยิ่ง |
ย่านความถี่ Microwave |
|
< 135 kHz |
13.553-13.567 MHz |
920-925 MHz |
2.45 GHz |
||
กำลังส่ง |
< 150 mW (e.i.r.p.) |
< 10 mW (e.i.r.p.) |
< 500 mW (e.i.r.p.) |
< 4 W (e.i.r.p.) |
< 100 mW (e.i.r.p.) |
ใบอนุญาต ทำ |
X |
X |
√ |
√ |
X |
ใบอนุญาต มี |
X |
X |
X |
√ |
X |
ใบอนุญาต ใช้ |
X |
X |
X |
√ |
X |
ใบอนุญาต นำเข้า |
X |
X |
√ |
√ |
X |
ใบอนุญาต นำออก |
X |
X |
X |
√ |
X |
ใบอนุญาต ค้า |
X |
X |
√ |
√ |
X |
ใบอนุญาต ตั้ง |
X |
X |
X |
√ |
X |
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จากประกาศ กสทช.ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ http://standard.nbtc.go.th/images/file/1010.pdf
สรุปย่านความถี่ และกำลังส่งที่อนุญาตให้ใช้งานมาตรฐาน RFID ที่ กสทช. กำหนด
ย่านความถี่ |
< 135 kHz |
13.56 MHz |
433 MHz |
920-925 MHz |
2.4 GHz |
||
กำลังส่งสูงสุด (e.i.r.p.) |
150 mW |
10 mW |
1 W |
10 mW |
0.5 W |
4 W |
100 mW |
การยกเว้นใบอนุญาต* |
ยกเว้น |
ยกเว้น |
ไม่ยกเว้น |
ยกเว้น |
ยกเว้น |
ไม่ยกเว้น |
ยกเว้น |
การตรวจสอบรับรองมาตรฐาน |
ยกเว้น |
ยกเว้น |
ไม่ยกเว้น |
ยกเว้น |
ยกเว้น |
ไม่ยกเว้น |
ยกเว้น |
มาตรฐานทางเทคนิค (RF Requirements) |
ไม่มีมาตรฐานบังคับ |
กทช. มท. 1010-2549 ให้ใช้ FCC Part 15.225 ETSI EN 300 330-1 หรือ ETSI EN 302 291-1 |
กทช. มท. 1010-2549 ให้ใช้ ETSI EN 300 220-1 |
กทช. มท. 1010-2549 ให้ใช้ FCC Part 15.247 (รับรายงานผลทดสอบตาม ETSI EN 302 208-1 เฉพาะย่านความถี่อนุญาตได้) |
ไม่มีมาตรฐานบังคับ |
||
มาตรฐานด้านความปลอดภัยทางไฟฟ้า (Electrical Safety Requirements) |
ไม่มีมาตรฐานบังคับ |
กทช. มท. 1010-2549 ให้ใช้ IEC 60950-1 มอก. 1561-2548 |
กทช. มท. 1010-2549 ให้ใช้ มอก. 1561-2548 หรือ IEC 60950-1 |
กทช. มท. 1010-2549 ให้ใช้ มอก. 1561-2548 หรือ IEC 60950-1 |
ไม่มีมาตรฐานบังคับ |
||
มาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพ (RF Exposure Requirements** |
กทช. มท. 5001-2550 เฉพาะ RFID ที่มี e.i.r.p. มากกว่า 100 mW |
ได้รับยกเว้นไม่ใช้บังคับมาตรฐาน |
ได้รับยกเว้นไม่ใช้บังคับมาตรฐาน |
กทช. มท. 5001-2550 เฉพาะ RFID ที่มี e.i.r.p. มากกว่า 100 mW |
ได้รับยกเว้นไม่ใช้บังคับมาตรฐาน |
*ได้รับยกเว้นใบอนุญาตทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก ค้าเครื่อง และตั้งสถานี แล้วแต่กรณี
**ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ตั้งแต่ 5 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
[su_spoiler title=”กฎระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง” icon=”plus-circle”]
- ประกาศ กทช. เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต(2550)
- ประกาศ กทช. เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต (2552)
- ประกาศ กทช. เรื่อง กำหนดให้อุปกรณ์ของเครื่องวิทยุคมนาคมเป็นเครื่องวิทยุคมนาคม (2552)
- ประกาศ กสทช. เรื่อง การมี ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม (2554)
- ประกาศ กสทช. เรื่อง การค้าเครื่องวิทยุคมนาคม (2554)
- ประกาศ กสทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตวิทยุคมนาคม (2554)
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับแจ้งเอกสารสูญหาย
- พรบ.วิทยุคมนาคม 2498
- ประกาศ กทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ เรื่องเครื่องวิทยุคมนาคมประเภท Radio Frequency Identification: RFID เล่มที่ : 125 ตอนพิเศษ : 11 ง
- ประกาศ กทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ เรื่องเครื่องวิทยุคมนาคมประเภท Radio Frequency Identification: RFID เล่มที่ : 124 ตอนพิเศษ : 9 ง
- ประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และมาตรฐานกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
- ประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”เอกสารขอใบอนุญาต” icon=”plus-circle”]
ในการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ RFID นั้น กสทช.ได้กำหนดให้เป็นเครื่องวิทยุคมนาคมที่ต้องได้รับอนุญาต การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์โดยไม่มีใบอนุญาตนั้น มีความผิดตามมาตรา….
การขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เรียกว่า “ใบอนุญาต” ซึ่งใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุฯ ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุฯ ใบอนุญาตให้ค้าฯ(กรณีที่ซื้อไปขายต่อ)
เอกสารประกอบการขอใบอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์
- แบบฟอร์ม คท.2 (ฉก.2 เดิม) กรอกข้อ 2 และ 5 (กรณีให้ IET ดำเนินการให้ไม่ต้องกรอกรายละเอียด เพียงประทับตราบริษัทมาเท่านั้น)
- สำเนาหนังสือรับรองบริษัทอายุไม่เกิน 90 วัน พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท
- สำเนา ภพ.20 พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท (กรณีให้ IET ดำเนินการแทน)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมลงลายมือชื่อเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง(ไม่ต้องประทับตราบริษัท)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงลายมือชื่อเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง(ไม่ต้องประทับตราบริษัท)
- แผนที่ แผนผังตำแหน่งที่ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท
- หนังสือยินยอมให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ (กรณีผู้ยื่นขอไม่ได้เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองสถานที่ตั้งสถานีฯ พร้อมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ลงนามยินยอม)
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ 535 บาท (รวมภาษีฯ/ต่อ 1 เลขที่ตั้ง)
เอกสารประกอบการขอใบอนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์
- แบบฟอร์ม คท.2 (ฉก.2 เดิม) กรอกข้อ 2 และ 4 (กรณีให้ IET ดำเนินการให้ไม่ต้องกรอกรายละเอียด เพียงประทับตราบริษัทมาเท่านั้น)
- สำเนาหนังสือรับรองบริษัทอายุไม่เกิน 90 วัน พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท
- สำเนา ภพ.20 พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท (กรณีให้ IET ดำเนินการแทน)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมลงลายมือชื่อเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง(ไม่ต้องประทับตราบริษัท)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงลายมือชื่อเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง(ไม่ต้องประทับตราบริษัท)
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ 535 บาท (รวมภาษีฯ/ต่อ 1 เครื่อง)
เอกสารสำหรับประกอบการขอใบอนุญาตให้ค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ (กรณีซื้อเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ไปเพื่อจำหน่ายต่อ)
- แบบฟอร์ม คท.1 (ฉก.1 เดิม) กรอกข้อมูลข้อ 2 (กรณีให้ IET ดำเนินการให้ไม่ต้องกรอกรายละเอียด เพียงประทับตราบริษัทมาเท่านั้น)
- สำเนาหนังสือรับรองบริษัทอายุไม่เกิน 90 วัน พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท
- สำเนา ภพ.20 พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท (กรณีให้ IET ดำเนินการแทน)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมลงลายมือชื่อเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง(ไม่ต้องประทับตราบริษัท)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงลายมือชื่อเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง(ไม่ต้องประทับตราบริษัท)
- แผนที่ตั้งบริษัท พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ 1,070 บาท (รวมภาษีฯ) มีอายุ 1 ปี
[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”แบบฟอร์ม” icon=”plus-circle”]
- แบบคำขอใบอนุญาต ค้า/ซ่อมแซม/ทำ/นำเข้า/นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมหรือเครื่องหมายฯ (แบบ คท.1)
- แบบคำขอใบอนุญาตพนักงานวิทยุคมนาคม มี/ใช้ เครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคม (แบบ คท.2)
- รายละเอียดประกอบคำขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุ (แบบ คท.20)
- หนังสือยิมยอมให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมประจำที่ (แบบ คท.21)
- หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ (แบบ คท.24)
- บันทึกแจ้งเอกสารสูญหาย (แบบ คท.25)
- หนังสือมอบอำนาจ (แบบ คท.26)
- หนังสือยกเลิกใบอนุญาตให้ ค้า และค้าเพื่อการซ่อมแซม ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบ คท. 29)
[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”เอกสารเผยแพร่” icon=”plus-circle”]
- วิธีการชำระเงินรายได้ค่าธรรมเนียม
- เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต
- ขั้นตอนการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อการสำรองจำหน่าย
- เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอใบอนุญาตค้า/ซ่อมแซม/ทำ/นำเข้า/นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
- ข้อมูลการติดต่ก กสทช.
- แผนที่เดินทาง
[/su_spoiler]